วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณีไหลเรือไฟ

เพิ่มคำอธิบายภาพ

ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีภาคอีสาน บางทีเรียกว่า "เฮือไฟ" ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันออกพรรษาเพื่อบูชารอยพระพุธทบาทของพระสัมมาสัมพุธเจ้า โดยประวัติความเป็นมานั้นพระพุทธเจ้าทรงเสร็จไปแสดงธรรมเทศนาพญานาค ณ เมืองบาดาล ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และพญานาคได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ ซึ่งต่อมาทั้งเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งได้ได้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาท และประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาแม่น้ำที่ได้ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูล ลงในแม่น้ำ และเป็นการเผาเอาความทุกข์ให้ลอยไปกับแม่น้ำ



งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมจัดกันในช่วงเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในส่วนของเรื่อไฟจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ โดยจะนำไม้ที่ลอยน้ำมาผูกติดกับแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ จะอยู่ส่วนบนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ยาวตั้งล้ำขึ้นทั้ง 3 ลำ ซึ้งใช้สำหรับรับน้ำหนังไม้ไผ่เล็กๆ ที่ผูกรวมยืดกันไว้เป็นตารางสี่เหลี่ยม เรียกแผง และวางแผนงานว่าจะออกแบบแผงออกเป็นรูปอะไร ซึ่งในสมัยก่อนนิยมออกแบบเป็นเรื่องราวของพระพุทธศาสนา


ปัจจุบันนั้นการทำเรือไฟได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรืองจริง แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ หรือใช้ไฟฟ้าในการประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง ประเพณีไหลเรือไฟภาคอีสาน นั้นจะคาบเกี่ยวระหว่างเดือน 11 และเดือน 12 นิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ในวันงานชาวบ้าน พระภิกษุสงฑ์และสามเณร จะช่วยกันทำเรือไฟเพื่อไปลอยในแม่น้ำ ในช่วงเช้านั้นจะมีการทำบุญตักบาตร และถวายภัตตาหารเพลแล้ว บ่ายจะมีการละเล่นต่างๆ มีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟ ตอนเย็นหรือพลบค่ำจะมีการสวนมนต์รับศิลและฟังเทศน์ ถึงเวลา 19 – 20 นาฬิกา ชาวบ้านจะนำของกิน เครื่องใช้ ขนม กล้วย อ้อย หมากพลู ฯลฯ ใส่ลงในกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟ้ แล้วปล่อยเรือให้ลอยไปตามแม่น้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น